7 สิ่งมหัสจรรย์ของโลก

7 สิ่งมหัสจรรย์ของโลก ในโลกยุคใหม่ 2020

7 สิ่งมหัสจรรย์ของโลก

Posted On :

7 สิ่งมหัสจรรย์ของโลก นั้นก็คงเป็นอีก 7 ปลายทางในฝันของนักเดินทางหลายๆคนที่ต้องการจะไปเยี่ยมชม ท่องเที่ยว และหวังว่าจะไปให้ได้สักครั้งในชีวิต โดย 7 สิ่งมหัสจรรย์ของโลก ยุคใหม่นั้นได้มีการประกาศไว้ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยองค์กร Natulrals8 The New Open World Corporation (NOWC) ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และพอเป็นยุคใหม่ก็ได้ทำแบบใหม่ๆ คือมีการโหวต ทางอินเตอร์เน็ท และทางข้อความทางโทรศัพท์มือถืออีกด้วย

การโหวต 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคใหม่นี้ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2542 โดยให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญซึ่งนำโดยนายเฟรเดริโก มายอร์ อดีตผู้อำนวยการองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ(ยูเนสโก)คัดเลือกสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั่วโลกจากเกือบ 200 แห่ง

คัดเหลือเพียง 21แห่ง ให้ประชาชนทั่วโลกเข้าไปโหวตเลือก 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 ผู้เข้าไปโหวตสามารถทำทางอินเตอร์เน็ตและส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ รวมแล้วมีประมาณเกือบ 100 ล้านคน พูดง่ายๆว่าประเทศใดประชากรมากกว่าก็ค่อนข้างได้เปรียบเรื่องการโหวตอยู่เหมือนกัน

อย่างไรก็ตามองค์การยูเนสโก ได้ออกแถลงการณ์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 แล้วว่าไม่สนับสนุนและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการโหวต 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ชีเชนอิตซา (อังกฤษ: Chichen Itza; สเปน: Chichén Itzá) เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยชาวมายาในเขตวัฒนธรรมเมโสอเมริกัน ตั้งอยู่ในคาบสมุทรยูกาตัง รัฐยูกาตัง ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก ชีเชนอิตซาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองจำนวนมากมายซึ่งพวกมายาได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเทพเจ้าผู้ทรงกระหายพระโลหิต

ลักษณะโดยทั่วไปของชีเชนอิตซา ทำเป็นรูปเหลี่ยมลดขั้นเป็นชั้น ๆ บนเนื้อที่ราว 6.4 ตารางกิโลเมตร มีบันไดกลาง วิหารที่ใหญ่สุดมีชื่อว่า วิหารแห่งนักรบ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หลังจากสร้างวิหารเก่าแห่งชักโมล ตรงกลางสร้างเป็นปราสาทเหลี่ยมทึบสูงขึ้นไป

ใช้เป็นที่ทำพิธีสังเวยเทพเจ้าโดยใช้เด็กสาวโยนลงไปถวายเทพเจ้า ณ ที่นั้น รอบ ๆ ห่างออกมาทำเป็นบริเวณตลาดทำนองเดียวกับสถานสถิตยุติธรรมของพวกโรมัน ซึ่งอยู่กลางเมืองที่สาธารณะและเป็นที่รวมของฝูงชน WBET69

กริชตูเรเดงโตร์ (โปรตุเกส: O Cristo Redentor; อังกฤษ: Christ the Redeemer พระคริสต์ผู้ไถ่) เป็นอลังการประติมากรรมพระเยซูตั้งอยู่บนยอดเขากอร์โกวาดู ประเทศบราซิล สูงราว 38 เมตร โดยปอล ลันดอฟสกี ประติมากรชาวฝรั่งเศสเชื้อสายโปแลนด์เป็นผู้ออกแบบ และเอโตร์ ดา ซิลวา กอชตา วิศวกรชาวบราซิลดำเนินการสร้าง ใช้เวลาในการสร้าง 5 ปี

โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474ประติมากรรมนี้ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกรุงรีโอเดจาเนโร และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวบราซิล มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ราว 1,800,000 รายต่อปี

กำแพงเมืองจีน (จีนตัวย่อ: 长城; จีนตัวเต็ม: 長城; พินอิน: Chángchéng “ฉางเฉิง”, อังกฤษ: Great Wall of China) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัย ราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจาก ชาวฮัน หรือ ซฺยงหนู คำว่า ซฺยงหนู บางทีก็สะกดว่า ซุงหนู หรือ ซวงหนู ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอารยธรรมจีนในยุคต้นๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล)

เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางเหนือ ในสมัยราชวงค์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวกซยงหนูเข้ามารุกรานและพวกเติร์กจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า “กำแพงหมื่นลี้” (จีนตัวย่อ: 万里长城; จีนตัวเต็ม: 萬里長城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng “ว่านหลี่ฉางเฉิง”)

สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่านักโบราณคดีได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ “กำแพงเมืองจีน” อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร

ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ และนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคกลาง ด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้

Categories :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *