แผนที่โลก

แผนที่โลก World Map

แผนที่โลก

Posted On :

แผนที่โลก คือ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่บอกระยะทางและทิศทางของสิ่งต่างๆ บนผิวโลก ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยนำมาย่อให้อยู่บนพื้นราบ แล้วใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนสิ่งที่อยู่บนผิวโลก พร้อมกำหนดมาตราส่วนทำให้เราศึกษาพื้นที่ของประเทศต่างๆ ได้ มาดูกันว่าปัจจุบันแผนที่โลกแบ่งออกเป็นกี่ทวีป และมีวิธีการดูคร่าวๆ อย่างไร WBET69

ประวัติการทำแผนที่โลก จากอดีตถึงปัจจุบัน

แผนที่โลก ภาษาอังกฤษ คือ “World Map” ส่วนแผนที่โลกที่เป็นรูปเล่ม สำหรับศึกษารายละเอียดภูมิศาสตร์เรียกว่า “World Atlas” การทำแผนที่โลกมีประวัติมาจากคนโบราณที่พยายามหาวิธีเขียนและวาดสิ่งที่ตัวเองพบเจอบนแผ่นกระดาษ โดยเริ่มจากการซักถามจากนักเดินทาง นักล่าสัตว์ ที่มีความรู้เกี่ยวกับทิศทางและระยะทาง เพื่อทำเป็นบันทึกถึงที่อยู่อาศัยและเส้นทางที่ใช้ดำรงชีวิต 

การสร้างแผนที่โลกเริ่มต้นจากอารยโบราณที่ต้องการวัดขนาดของโลก จีนบันทึกแผนที่ไว้เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การทำแผนที่ของจีน บอกทิศ ระยะทาง ภูมิประเทศ และการหักเลี้ยวของแม่น้ำลำคลอง จำลองให้เหมือนจริง สร้างไว้บนแผ่นไม้หรือแผ่นหิน 

ชาวกรีกเป็นอารยธรรมที่วางรากฐานการทำแผนที่ มีการกำหนดละติจูดและลองจิจูด พยายามค้นคว้าลักษณะของโลกว่าเป็นทรงกลม แบ่งเขตโลกออกเป็นเขตร้อน อบอุ่น และหนาวเย็น ตามการรับแสงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ชาวกรีก พยายามวัดขนาดของโลกให้ใกล้เคียงกับความจริง มีการคำนวณขนาดของแผ่นดิน และสร้างลูกโลกขึ้นเพื่อจำลองสัดส่วนแผ่นดินและแผ่นมหาสมุทร

แผนที่โลกในรูปทรงลูกโลกเกิดขึ้นครั้งแรก 150 ปีก่อนคริสตกาล มีทั้งหมด 3 ทวีป เพื่อให้เกิดสมดุลของแผ่นดินและผืนน้ำ เรียกว่า ลูกโลกของเครติส (The Globe of Crates 150 B.C.)

นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ยุคต่อมา คำนวณขนาดและระยะทางของแผ่นดินในทวีปต่างๆ กำหนดอัตราส่วนย่อ สร้างแผนที่โลกขึ้นมาตามการใช้งานด้านทหาร การเดินเรือ และศาสนา โดยยุคที่เกิดการปฏิรูปการทำแผนที่คือยุคที่มีการเดินเรือค้นพบทวีปอเมริกา ตามชื่อของนักเดินเรือชื่อ อเมริโก เวสปุชชิ (Amerigo Vespucci) และบุคคลแรกที่ได้รับยกย่องว่าสร้างแผนที่โลกได้สมมาตราส่วน คือ ดิเอโก ริเบอโร (Diego Ribero) ชาวโปรตุเกส เป็นนักทำแผนที่ให้กับกษัตริย์สเปน ได้สร้างแผนที่ขึ้นในปี ค.ศ. 1529 

ลูกโลก คือแผนที่โลก 3 มิติ สร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1492

ลูกโลกถือเป็นแผนที่โลก 3 มิติ ทำให้ผู้ศึกษาแผนที่ได้มองภาพเห็นแผ่นดิน มหาสมุทร แสดงภูมิประเทศต่างๆ ได้อย่างใกล้เคียงโดยเทียบกับอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ลูกโลกลูกแรกสร้างขึ้นในปีที่ค้นพบทวีปอเมริกา (ค.ศ. 1492) โดย Martin Behaim แห่ง Nuremberg ผู้เคยรับราชการในราชสำนักโปรตุเกส ลูกโลกลูกนี้มีขนาด 40 นิ้ว ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมือง Nuremberg ประเทศเยอรมนี

วิทยาการสมัยใหม่ที่เจริญอย่างรวดเร็วทำให้การค้นคว้าและผลิตแผนที่โลกนั้นมีอัตราส่วนที่ถูกต้องมากขึ้น ประโยชน์ของการใช้งานแผนที่โลกครอบคลุมถึง แผนที่ธรณีวิทยา, แผนที่ภูมิประเทศ, แผนที่อุตุนิยมวิทยา และแผนที่ประชากร นำไปใช้กับการพัฒนาประเทศชาติต่างๆ 

แผนที่โลกทำให้เรารู้ว่า “โลกมีกี่ทวีป”

โลกของเรามีทั้งหมด 7 ทวีป 195 ประเทศ โดยมี 193 ประเทศที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ และมี 2 รัฐสังเกตการณ์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก ได้แก่ นครรัฐวาติกัน (Holy See) และ รัฐปาเลสไตน์ (State of Palestine)

แผนที่โลกในปัจจุบันมีกี่แบบที่ควรทราบ

แผนที่โลกแบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่ได้ 3 ประเภท ดังนี้

  1. แผนที่ลายเส้น (Line Maps) ใช้ลายเส้นวาดแทนรายละเอียดของพื้นที่
  2. แผนที่รูปถ่าย (Photomap) ใช้รูปถ่ายบางส่วนหรือทั้งหมดบนแผนที่
  3. แผนที่ผสม (Annotated Maps) ใช้ลายเส้นและรูปถ่ายผสมระหว่างรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพและวาดขึ้นบนแผนที่

แผนที่โลกแบ่งตามมาตราส่วนที่ปรากฏบนแผนที่ได้ 3 ประเภท ดังนี้

  1. แผนที่มาตราส่วนเล็ก 1:1,000,000
  2. แผนที่มาตราส่วนปานกลาง (Photomap) 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
  3. แผนที่มาตราส่วนใหญ่ 1:250,000

แผนที่โลกแบ่งตามการใช้งานแผนที่ได้ 3 ประเภท ดังนี้

แผนที่ทั่วไป แสดงลักษณะทั่วไป แบ่งออกเป็นสี เห็นความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ

แผนที่อ้างอิง ใช้เป็นหลักอ้างอิงให้กับแผนที่อื่นๆ กำหนดที่ราบ ภูเขา ถนน แม่น้ำ และอื่นๆ

แผนที่เฉพาะเรื่อง แสดงลักษณะตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น แผนที่ป่าไม้ แผนที่คมนาคม แบ่งออกเป็นประเภทอื่นๆ ได้ดังนี้

3.1) แผนที่รัฐกิจ (Political Map) แสดงเขตการปกครอง พรมแดน ชื่อเมืองหลวง

3.2) แผนที่ภูมิอากาศ (Climatic Map) แสดงข้อมูลด้านภูมิอากาศ เช่น เขตภูมิอากาศโลก อุณหภูมิเฉลี่ย เพื่อใช้ประโยชน์ด้านอุตุนิยมวิทยา3.3) แผนที่ธรณีวิทยา (Geologic Map) แสดงการกระจายตัวของแผ่นเปลือกโลก หรือลักษณะที่ปรากฏบนผิวโลก เช่น แผนที่รอยเลื่อนเขตภูเขาไฟ

3.4)  แผนที่การถือครองที่ดิน (Cadastral Map) แผนที่แสดงอาณาเขตถือครองที่ดิน

3.5) แผนที่แสดงพืชพรรณธรรมชาติ (Natural Vegetation Map) แผนที่แสดงการกระจายตัวพืชพรรณนั้นๆ ในภูมิภาค หรือประเทศ

3.6) แผนที่ท่องเที่ยว (Tourist Map) แผนที่แสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ

3.7) แผนที่เขตเวลา (Time Zone Map) แสดงเขตเวลาอ้างอิงเดียวกัน

3.8) แผนที่แสดงภูมิอากาศ (Weather Map) หรือเรียกว่าแผนที่ลมฟ้าอากาศ แสดงการเคลื่อนที่ของมวลอากาศ พายุ เมฆ

3.9) แผนที่แสดงสถิติ (Choropleth maps) แสดงสถิติประชากรศาสตร์ หรืออื่นๆ โดยกำหนดเป็นความเข้มของสี

3.10) แผนที่ดาวเทียม (Satellite map) เป็นการแสดงแผนที่สมจริง ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงภาพแบบ Real-Time

3.11) ลูกโลก (Globe) แสดงข้อมูลที่ต้องการเป็นรูปทรงกลม 3 มิติ….naturals8  

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *